การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน
การใช้หม้อไอน้ำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย และ ประหยัดพลังงาน มีวิธีการดังนี้
1. ดำเนินการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำเป็นประจำทุกปี และจัดส่งเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำต้นฉบับไปให้แก่สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาตามกำหนด สำหรับท่านผู้ประกอบการที่ใช้หม้อไอน้ำหลายเครื่องในโรงงานเดียวกัน และมีเครื่องใดที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำ ตั้งแต่ 20 ตัน/ชั่วโมงขึ้นไป จะขอความเห็นชอบจากท่านอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อขยายการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ จาก 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี/ครั้ง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 26(พ.ศ.2534)ก็ได้
2. มีการขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ควบคุมไอน้ำต้องมีคุณสมบัติ คือต้องจบ ปวช.ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน หรือช่างผู้เชี่ยวชาญงาน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำที่ต้องขึ้นทะเบียน/หนึ่งโรงงานนั้น ในประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้กำหนดไว้ แต่ขอเสนอแนะว่า
– ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 1 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 1 คน
– ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 2 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 2 คน
– ถ้ามีการใช้หม้อไอน้ำในการทำงาน 3 กะ ควรให้ขึ้นทะเบียนอย่างน้อย 3 คน
- Boiler operator, ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ, กฎหมายหม้อไอน้ำ
คำเตือน : ถ้า ท่านผู้ประกอบกิจการต้องใช้หม้อไอน้ำถึง 3 กะ หรือตลอด 24 ชั่วโมง แล้วแต่ท่านผู้ประกอบกิจการไปขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมหม้อไอน้ำเพียงคนเดียว ท่านคิดหรือไม่ว่า กะที่2 และกะที่3 ใครจะเป็นผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ หรือท่านจะปล่อยปะละเลยให้มีการใช้หม้อไอน้ำ โดยไม่มีผู้ควบคุมหม้อไอน้ำอย่างนั้นหรือ สำหรับกรณีดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าท่านกำลังเสี่ยงต่ออันตรายจากหม้อไอน้ำจนเกินไป
3. ควรมีการขึ้นทะเบียนวิศวกรรมควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำ หากมีการใช้หม้อไอน้ำที่มีขนาดกำลังการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตัน/ชั่วโมง/1 เครื่องขึ้นไป
4. หม้อไอน้ำที่ใช้งานและยังไม่มีการรั่วซึม ไม่ผุกร่อน ไม่ชำรุดทรุดโทรม ควรบำรุงรักษาอยู่เสมอ
5. ควรมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำ สำหับเติมเข้าหม้อไอน้ำให้เหมาะสม ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เกิดตะกรัน การผุกร่อน และความเสียหายอื่นๆภายในหม้อไอน้ำอย่างสม่ำเสมอ
6. ควรมีการนำน้ำคอนเดนเสท(condensate) กลับมาเติมเข้าหม้อไอน้ำใหม่ เนื่องจากน้ำคอนเดนเสทยังมีปริมาณความร้อนอยู่มาก นั่นก็หมายถึง เป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งในบางโรงงานอุตสาหกรรมก็ปล่อยน้ำคอนเดนเสททิ้งไปเปล่า ก็มีมากมาย คำแนะนำ น้ำที่ใช้เติมเข้าหม้อไอน้ำ หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำเลี้ยงหม้อไอน้ำ (feed water boiler) ถ้าอุณหภูมิของน้ำเพิ่มจากเดิมทุกๆ 6 องศาเซลเซียล เราจะสามารถลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 1 % อีกทั้งยังสามารถลดปริมาณการใช้น้ำดิบ และสารเคมีที่ต้องทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เพื่อใช้สำหรับเติมเข้าหม้อไอน้ำอีกด้วย
7. การปรับแต่งหัวเผา(burner) ให้สังเกตสีของเปลวไฟในห้องเผาไหม้ หรือมีการปรับปริมาณลมที่ใช้ในการเผาไหม้ กรณีที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งให้มีความเหมาะสม เพื่อการเผาไหม้ที่สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ
8. ควรหุ้มฉนวนตัวหม้อไอน้ำ วาล์วต่างๆ ท่อจ่ายไอน้ำ ตลอดจน อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ไอน้ำ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนเป็นอย่างดีเหล่านี้ ท่านผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม จะเห็นได้ว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ยุ่งยากนัก โดยที่ท่านควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการเสียก่อนเพื่อความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน รวมถึงเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่งที่ดี เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินที่ท่านไม่ควรจะเสียไปนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 32 ฉบับที่ 181 เรื่องมาตรการความปลอดภัย หม้อไอน้ำและหม้อต้ม โดย พัชรินทร์ กาญจนฐิติวรณ์ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ขอบคุณสำหรับความรู้คับ
ขอบคุณคะ
Hi, nice posts there 🙂 hold responsible’s for the gripping advice
I was just searching around about this when I came upon your post. I’m just visiting to say that I really liked seeing this post, it’s very clear and well written. Are you planning topost more on this? It looks like there’s more depth here for future posts.
ผมสงสัยครับว่า หม้อไอน้ำ หรือ Boiler นี้ผมจะติดตั้งจำเป็นต้องทำประชามัติด้วยเหรอครับ เห็นเจ้าหน้าทีแจ้งมาว่าจำต้องให้ชุมชนทำประชามัติก่อน
ทั้งๆ ที่โรงงานผมก็ใช้หม้อไอน้ำ เดิมอยู่แล้ว ตัวเดิมใช้เชื้อเพลิงฟืนครับ แต่ยากเปลี่ยนมาใช้ Gas เลยงงนิดๆ ครับ มันน่าจะมีมลภาวะน้อยลงนะครับ และ Boiler ที่ผมใช้ก็ขนาด 3 ตัน/ชั่วโมงเอง
หรือว่าเจ้าหน้าที่เขาต้องการอะไรจากผม งง
วีระพงศ์
ผมก็สังสัยอยู่เหมือนกันเห็นแต่ก่อนเรื่องนี้ยังไม่มีนะครับ แต่พอมาช่วงหลังๆ ที่ชุมชนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นนี้เล่นประชามัติกันแทบทุกอย่าง จะทำอะไรทีต้องเตรียมเงินไว้เยอะๆ….
จริงๆ โรงงานก็มาสร้างก่อนคนมา เรามาเขาก็ตามเรามาทำอะไรก็ลำบากครับอีกอย่างเหมือนคนจะไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งครับประทวงกันไปหมด นี้ถ้าไม่ผ่านจะต้องให้เราย้ายโรงงาน เหรอหรือทำไปอย่างนั้นแล้วนี้คู่แข่งเขาเราจะตามทันเหรอ?
เรื่องการต้องทำประชามัติ Boiler นั้นจะมีบางพื้นที่เท่านั้นครับ ยิ่งแถวระยอง ชลบุรี นี้หนักหน่อย ถูกครับ Boiler เปลี่ยนจากฟืนมาเป็น Boiler Gas นั้นต้องดีกว่ามากอยู่แล้วครับ คงต้องหาเอกสารให้ความรู้เจ้าหน้าที่ และประชาชนในท้องที่ได้อ่านได้ความรู้ก่อนครับ พอเขารู้ว่าดีกว่าประชามัตินี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาครับ
ทุกอย่างเป็นไปตามอำนาจเงิน…